การเกิดฝน

การเกิดฝน

ปัจจุบันนี้นักอุตุนิยมวิทยาสามารถศึกษา และทราบถึงเรื่องการเกิดฝนได้ดีขึ้นกว่าก่อนๆ มาก เราทราบว่า อุนภาคของไอน้ำขนาดต่างๆ กันในก้อนเมฆ เมื่อมีขนาดใหญ่ จนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ ก็จะตกมาเป็นฝน และบางครั้งฝนตกแผ่เป็นบริเวณกว้างถึงร้อยๆ กิโลเมตรก็มี อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ยังไม่มีนักอุตุนิยมวิทยาคนใด เข้าใจการเกิดของฝนได้อย่างสมบูรณ์ 



เมฆมีอยู่หลายชนิด (ดูเรื่องเมฆ) และมีบางชนิดเท่านั้นที่มีฝนตก เราได้กล่าวไว้ในเรื่องการเกิดของเมฆว่า ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นเมฆ ก็ต่อเมื่อมีอนุภาคกลั่นตัวเล็กๆ (condensation nuclei) อยู่เป็น จำนวนมากเพียงพอ และไอน้ำจะเกาะตัวบนอนุภาคเหล่านั้นรวมกันทำให้เห็นเป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัว (freezing nuclei) หรือเม็ดน้ำขนาด ใหญ่ ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัวกันจนเกิดเป็นเม็ดฝน


เราพอจะสรุปหัวข้อสำคัญของฝนในธรรมชาติได้ว่า การกลั่นตัว และการเกิดน้ำฟ้า เป็นกรรมวิธีที่ต่างกันมาก การกลั่นตัวของไอน้ำเป็นเมฆหรือหมอกนั้น ต้องอาศัยอนุภาคกลั่นตัว และการเกิดน้ำฟ้า (หรือฝน) ต้องอาศัยเม็ดเมฆขนาดใหญ่ (giant nuclei) หรือ ผลึกน้ำแข็ง (ice crystals or ice nuclei)




อ้างอิง : https://www.meteoheroes.com/th/cards/rain/

Back

ความคิดเห็น